พังผืดใต้ลิ้นยึดติด ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

 

พังผืดใต้ลิ้นคือ เยื่อบาง ๆ บริเวณโคนลิ้น เกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่จะมีจำนวนไม่มากที่ต้องทำการรักษา อย่างรายที่ทารกมีพังผืดยึดติดมากกว่าปกติจนถึงบริเวณปลายลิ้น ทำให้เกิดปัญหาการขยับปลายลิ้นหรือการเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการดูดนมแม่ ตั้งแต่งับหัวนมไม่ติด ดูดเบา ดูดบ่อย น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด มีอาการตัวเหลือง บางรายจะใช้เหงือกช่วยในการดูดนม ซึ่งจะทำให้แม่เจ็บหัวนม หรือหัวนมแตกเป็นแผล สร้างน้ำนมน้อยลง ๆ เกิดปัญหาการได้น้ำนมไม่เพียงพอ 

 

การรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้นในเด็กทารก

เป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ให้ความสำคัญและมีการพัฒนามากขึ้น ในอดีตเราใช้การผ่าตัด ซึ่งเด็กทุกรายจำเป็นต้องดมยาสลบ ทำให้สร้างความวิตกกังวลแก่พ่อแม่ของเด็กอย่างมาก แม้ทางการแพทย์จะมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อเด็กทารกก็ตาม แต่ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ อีกทั้งจะต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลต่ออย่างน้อย 2 – 3 วัน

ภาวะพังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะยืดออกได้เอง หากยังไม่มีปัญหาการดูดนมแม่ แพทย์จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในการพูด โดยเฉพาะปลายลิ้นที่ต้องช่วยในขณะออกเสียงควบกล้ำ ดังนั้นในเด็กโตที่มีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้นก็อาจพูดไม่ได้ พูดช้า และมีปมด้อยได้

แม้ภาวะพังผืดใต้ลิ้น  มักเป็นกรรมพันธุ์แต่กำเนิด ไม่สามารถป้องกันได้ แต่แก้ไขได้ หากคุณแม่ท่านใดมีปัญหานี้เกิดขึ้นกับลูกน้อยล่ะก็ มาปรึกษาได้ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

ความคิดเห็น